วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พระโพธิสัตว์ปางปัทมปาณิ The Bodhisattva Padmapani

        (ปัทม : ดอกบัว/ปาณิ : ผู้ถือ)
ตำนาน
        พระปัมทปาณิ เป็นภาคสำแดงภาคหนึ่งของพระอวโลกิเตศวร บ้างก็บอกว่าเป็นภาคสำแดงต่อเนื่องของพระอมิตาภะ แต่อยู่ในรูปแบบที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิธีการของตันตระ
        พระปัทมปาณิมีภาพลักษณ์เป็นชาย มักปรากฏคู่กับพระวัชรปาณิ ในศิลปะสมัยมถุระ (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่สอง) ในมือของท่านถือดอกบัว อาจเป็นดอกบานหรือดอกตูมทั้งก้าน บางครั้งก็ถือดอกบัว แต่แสดงท่าทางแบบเดียวกับพระมหาสถาปราปต์ ในยุคหลังศิลปินนิยมวางแจกันใส่น้ำทิพย์ (หรือน้ำอมตะ) ไว้ในมือข้างใดข้างหนึ่งของท่านด้วย
http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/อินโดนีเซีย/item/419-พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต.html
พระอวโลกิเตศวร ปางปัทมปาณิ ถือดอกบัวในพระหัตถ์ซ้าย (หักหายไปแล้ว)
สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์ พระพุทธเจ้าในรูปกายทิพย์ตามคติของมหายานและวัชรยาน . พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 111
ลักษณะ
        ภาพลักษณ์ของท่านมีหลากหลายและแตกต่างกันไปตามแต่ท้องถิ่นและคติความเชื่อ บางครั้งภาพของท่านก็อยู่คู่กับพระมัญชุศรีและพระวัชรปาณิเพื่อเป็นตัวแทนของโคตรทั้งสาม กล่าวคือ พระมัญชุศรีเป็นตัวแทนของตถาคตโคตร พระวัชรปาณิเป็นตัวแทนของวัชรโคตร และพระปัทมปาณิเป็นตัวแทนของปัทมโคตร
       ทั้งสามโคตรถือเป็นตระกูลแห่งพระชินพุทธสามพระองค์ที่ได้รับความนิยมนับถือในยุคแรกๆ


     
http://fafatravel.com/wp-content/uploads/2017/01/16142688_653357688169671_1106539425012350488_n.jpg
ลักษณะเฉพาะ
        พระโพธิ์สัตว์ปัทมปาณิผู้ถือดอกบัวนี้ ส่วนองค์ท่อนบนของพระโพธิสัตว์ ยืนเอียงพระวรกาย ทรงศิราภรณ์ สวมชฎามกุฎ พระพักตร์มน พระขนงเป็นสันนูนโค้งด้านบนเป็นร่อง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์จีบ พระเนตรเหลือบต่ำ สวมสร้อยประคำและกรองศอ พระอังสาด้านซ้ายคล้องผ้าเฉวียงบ่า
        ทรงเป็นบุคลาฐิษฐานของอุบาย ที่นำไปสู่ปัญญาเพื่อบรรลุพุทธภาวะ มีสองกร พระหัตถ์หนึ่งประทานพร อีกพระหัตถ์ทรงถือดอกบัว เป็นรูปแบบหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่มีผู้นับถืออย่างมาก ทั้งในศาสนาพุทธแบบมหายาน และวัชรยาน  และเป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญในศาสนาพุทธนิกายมหายานประจำยุคปัจจุบัน


http://fog.ccsf.cc.ca.us/~jcarpent/images/Indus%20and%20Buddhist%20Art/Bodhisattva_Ajanta.jpg
ลักษณะเฉพาะ
       พระอวโลกิเตศวร ปางปัทมปาณิ(ผู้ถือดอกบัว) จิตรกรรมที่ผนังถ้ำอชันตา หมายเลข1 ศิลปะคุปตะตอนปลาย หรือหลังคุปตะ(พุทธศตวรรษที่12) ถือกันว่าเป็นงานจิตรกรรมที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย
https://collectionapi.metmuseum.org/api/collection/v1/iiif/38335/152025/main-image

https://collectionapi.metmuseum.org/api/collection/v1/iiif/50799/152023/main-image
ศักติหรือเทวีของท่านคือพระนางตารา ซึ่งเทียบได้กับกวนอิมในพุทธศาสนาแบบจีน


http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/images/b_model/uthong_model_2017_25.png
ตัวอย่างงานศิลปะ
ชื่อโบราณวัตถุ : พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ (ปัทม : ดอกบัว/ปาณิ : ผู้ถือ)
แบบศิลปะ : ศรีวิชัย
ชนิด : สำริด
ขนาด : กว้าง 6 เซนติเมตร สูง 23.5 เซนติเมตร
อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 (หรือราว 1,100 - 1,200 ปีมาแล้ว)
ลักษณะ : ประติมากรรมสำริดหล่อเป็นรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็น พระโพธิสัตว์องค์สำคัญในศาสนาพุทธนิกายมหายานประจำยุคปัจจุบัน ประทับยืนบนฐานบัว พระเกศาเกล้าเป็นมวยสูง มีรูปพระอมิตาภะปางสมาธิอยู่ที่หน้ามวยผม พระหัตถ์ขวาถือลูกประคำ พระหัตถ์ซ้ายถือก้านดอกบัวและคนโทน้ำ มีสายธุรำ (ยัชโญปวีต) พาดคล้องที่พระอังสาซ้าย
ประวัติ : ม.ร.ว. ทันพงษ์ กฤษดากร อธิบดีกรมสรรพสามิต มอบให้กรมศิลปากร  เมื่อ 7 กันยายน 2507
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

        พระอวโลกิเตศวร คือพระโพธิสัตว์ประจำกัลป์ปัจจุบัน  โดยพระองค์ได้รับการเคารพยกย่องว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณา ทรงถือดอกบัวจึงเรียกขานพระองค์ในนามอื่นว่า ปัทมปาณิ ปางเปล่งรัศมีที่นิยมในศิลปะบายน คาดว่ามีที่มาจากคัมภีร์กรัณฑวยุหสูตร ที่มีข้อความกล่าวว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีอานุภาพมาก ทุกรูขุมขนของพระองค์เทียบเท่ากับ 1 จักรวาล โดยจักรวาลจะมีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ 1 องค์ บางครั้งทรงปรากฏพร้อมกับพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์วัชรปาณิ
       
อ้างอิง

สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์ พระพุทธเจ้าในรูปกายทิพย์ตามคติของมหายานและวัชรยาน . พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. 165 หน้า : ภาพประกอบ.
พระโพธิ์สัตว์ปัทมปาณิ ปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์จาก http://fafatravel.com/2017/01/17/avalokitesvara-ajenta-caves/ สืบค้นเมื่อ 16/11/2018
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จาก http://paxpix.blogspot.com/2007/11/blog-post_5449.html สืบค้นเมื่อ 16/11/2018
อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี จาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2/item/513-%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%A1%E0%B8%B5.html สืบค้นเมื่อ 16/11/2018
The Bodhisattva Padmapani Lokeshvara จาก https://www.metmuseum.org/toah/hd/neps/hd_neps.htm สืบค้นเมื่อ 16/11/2018
Tara, the Buddhist Savior จาก https://www.metmuseum.org/toah/works-of-art/66.179/ สืบค้นเมื่อ 16/11/2018

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประตูชัย สัญลักษณ์ของอิสรภาพ

      การประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมฝรั่งเศสของลาว เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึงการไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศสอีกต่อไปแล้ว ชาวลาวจึงได้สร้...