การประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมฝรั่งเศสของลาว เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึงการไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศสอีกต่อไปแล้ว ชาวลาวจึงได้สร้างอนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ ไว้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อให้ลูกหลานชาวลาวรวมถึงคนทั้งโลกให้รับรู้ถึงชัยชนะในครั้งนี้ ในบทความนี้ เราจะเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการสร้างประตูชัยแห่งนี้ให้ทุกท่านได้รู้กันค่ะ
56339a3cec60adb92a8b45e1-2-full-ideas.jpg |
ประตูชัยตั้งอยู่ในใจเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ อยู่ท่ามกลางสวนสาธารณะ และถนนสายหลัก (ถนนล้านช้าง) ที่มีลักษณะเป็นวงเวียนและถนนสายใหญ่ ประตูชัยสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2512 ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษชาวลาวที่เสียสละชีวิต ในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์
ประตูชัยนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “รันเวย์แนวตั้ง” เนื่องจากการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้นั้น ใช้ปูนที่อเมริกาซื้อมาเพื่อที่จะนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ ในระหว่าง "สงครามอินโดจีน" แต่ยังไม่ทันได้สร้างก็เกิดแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน ชาวลาวจึงได้นำเอาปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน
อนุเสาวรีย์มีลักษณรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตูสี่ด้าน ความยาวแต่ละด้านกว้าง 4 เมตร ความสูง 49 เมตร มีลายปูนปั้นด้านบน ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านใต้ โดยที่ด้านบนหลังคาทำเป็นยอดฟ้า 5 ยอด ตามหลักการปกครองประเทศตามพุทธศาสนา (ได้แก่ พันธมิตร, การผ่อนปรนยืดหยุ่น, ความซื่อสัตย์, การให้เกียรติ และความรุ่งเรือง) ด้านหน้าของประตูชัย มีน้ำพุที่สวยงาม และเป็นสวนสาธารณะให้นั่งพักผ่อน รัฐบาลลาวกล่าวว่า ประตูชัยที่เห็นนี้ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ (ตามการออกแบบครั้งแรก) และดูเหมือนไม่มีทีท่าจะเสร็จในเวลาอันสั้น โดยที่ป้ายหน้าประตูชัย บอกว่า สิ่งก่อสร้างนี้ดูไกล ๆ จะสวยงาม แต่ถ้าดูใกล้ ๆ จะรู้สึกเหมือนเป็นกองปูนไม่ค่อยสวยเพราะยังสร้างไม่เสร็จ ด้านใต้ซุ้มประตูชัย มีบันใดสำหรับขึ้นไปที่ยอดประตู 147 ขั้น
220px-Patuxai_Vientiane_2.JPG |
800px-Laos_010.jpg บริเวณซุ้มประตู |
จากที่ได้ทราบประวัติความเป็นมาของประตูชัยแล้ว อดใจไม่ไปไม่ไหวกันเลยทีเดียวใช่มั้ยคะ เพราะว่านอกจากประวัติความเป็นของประตูชัย รูปแบบของสถาปัตยกรรมก็ดูแปลกหูแปลกตาเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ในลาว ถึงแม้จะสร้างมานานแล้ว แต่ก็มีความสมบูรณ์งดงาม รอให้ทุกท่านได้ไปเยือนประตูชัยสักครั้ง แถมค่าเข้าชมก็แสนจะถูกเอามาก ๆ
อัตราเข้าชม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น