วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ประตูชัย สัญลักษณ์ของอิสรภาพ

     การประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมฝรั่งเศสของลาว เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึงการไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศสอีกต่อไปแล้ว ชาวลาวจึงได้สร้างอนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ ไว้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อให้ลูกหลานชาวลาวรวมถึงคนทั้งโลกให้รับรู้ถึงชัยชนะในครั้งนี้ ในบทความนี้ เราจะเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการสร้างประตูชัยแห่งนี้ให้ทุกท่านได้รู้กันค่ะ

56339a3cec60adb92a8b45e1-2-full-ideas.jpg

    ประตูชัยตั้งอยู่ในใจเมืองนครหลวงเวียงจันทน์  อยู่ท่ามกลางสวนสาธารณะ และถนนสายหลัก (ถนนล้านช้าง) ที่มีลักษณะเป็นวงเวียนและถนนสายใหญ่ ประตูชัยสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2512 ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษชาวลาวที่เสียสละชีวิต ในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์

    ประตูชัยนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “รันเวย์แนวตั้ง”  เนื่องจากการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้นั้น ใช้ปูนที่อเมริกาซื้อมาเพื่อที่จะนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ ในระหว่าง "สงครามอินโดจีน" แต่ยังไม่ทันได้สร้างก็เกิดแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน ชาวลาวจึงได้นำเอาปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน

    อนุเสาวรีย์มีลักษณรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตูสี่ด้าน ความยาวแต่ละด้านกว้าง 4 เมตร ความสูง 49 เมตร มีลายปูนปั้นด้านบน ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านใต้ โดยที่ด้านบนหลังคาทำเป็นยอดฟ้า 5 ยอด ตามหลักการปกครองประเทศตามพุทธศาสนา (ได้แก่ พันธมิตร, การผ่อนปรนยืดหยุ่น, ความซื่อสัตย์, การให้เกียรติ และความรุ่งเรือง) ด้านหน้าของประตูชัย มีน้ำพุที่สวยงาม และเป็นสวนสาธารณะให้นั่งพักผ่อน รัฐบาลลาวกล่าวว่า ประตูชัยที่เห็นนี้ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ (ตามการออกแบบครั้งแรก) และดูเหมือนไม่มีทีท่าจะเสร็จในเวลาอันสั้น โดยที่ป้ายหน้าประตูชัย บอกว่า สิ่งก่อสร้างนี้ดูไกล ๆ จะสวยงาม แต่ถ้าดูใกล้ ๆ จะรู้สึกเหมือนเป็นกองปูนไม่ค่อยสวยเพราะยังสร้างไม่เสร็จ ด้านใต้ซุ้มประตูชัย มีบันใดสำหรับขึ้นไปที่ยอดประตู 147 ขั้น

220px-Patuxai_Vientiane_2.JPG   

จากซ้ายไปขาว เป็นการตกแต่งภายในด้วยภาพพระนารายณ์ พระพรหมและพระอินทร์


800px-Laos_010.jpg

บริเวณซุ้มประตู


    ความสวยงามของประตูชัย อยู่ที่ลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถ้าเปรียบเทียบกันดูจะเห็นว่ามีส่วนที่คล้ายคลึงกันมาก แต่ลักษณะของสถาปัตยกรรมก็ยังมีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะ แบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย บันไดวนให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์  และถ้าเดินขึ้นไป ตลอดบันไดวนของประตูชัยจะแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ซึ่งแต่ละชั้นนั้นก็จะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นชมวิวทิวทัศน์ทุกวัน และในตอนเย็นจะมีประชาชนชาวลาว มาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมร่วมกันที่นี่ด้วย

    จากที่ได้ทราบประวัติความเป็นมาของประตูชัยแล้ว อดใจไม่ไปไม่ไหวกันเลยทีเดียวใช่มั้ยคะ เพราะว่านอกจากประวัติความเป็นของประตูชัย รูปแบบของสถาปัตยกรรมก็ดูแปลกหูแปลกตาเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ในลาว ถึงแม้จะสร้างมานานแล้ว แต่ก็มีความสมบูรณ์งดงาม รอให้ทุกท่านได้ไปเยือนประตูชัยสักครั้ง แถมค่าเข้าชมก็แสนจะถูกเอามาก ๆ

อัตราเข้าชม

  • คนละ 2,000 กีบ (อัตราแลกเปลี่ยนก็ประมาณ 240-270 กีบ ต่อ 1 บาท)
เวลาเปิดให้เข้าชม 

  • ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.

อ้างอิง
https://sites.google.com/site/siwachthailand1/pratu-chay-weiyngcanthn-prathes-law สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563
https://sites.google.com/site/pratheslaw001/sthan-thi-thxng-theiyw/pratu-chay 

สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563

https://www.thaifly.com/ข้อมูลเที่ยว-Travel-Article/ข้อมูลเที่ยวลาว?news_id=869 

สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563


วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระสี่ทิศ ที่เจดีย์ไจ๊ปุ่น

    หากพูดถึงการสร้างศาสนสถาน หลาย ๆ คนอาจคิดว่าเป็นการสร้างเพื่อประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้เพื่อกราบไว้บูชา หรือไว้เพื่อขอพรเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว วัตถุประสงค์ของการสร้างศาสนสถานมีหลากหลายตามความประสงค์ของผู้สร้าง โดยในบทความนี้ เราจะขอยกตัวอย่างของศาสนสถานที่สร้างขึ้น ส่วนจะสร้างขึ้นเพื่ออะไรนั้นรอติดตามได้เลยค่ะ

bebc5b300f11831de8b7fc94a98cf077.jpg

    อย่างที่ได้กล่าวไป ศาสนสถานที่ว่านั้น คือ "เจดีย์ไจ๊ปุ่น" นั่นเองค่ะ ตั้งอยู่ที่เมืองพระโค หรือเมืองหงสาวดี ประเทศพม่า มีอายุเก่าแก่กว่า 500 ปี โดยคำว่า "ไจ๊" หรือ "ไจ" ในภาษามอญแปลว่า พระ/เจดีย์ ส่วนคำว่า "ปุ่น" แปลว่า สี่ ดังนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คำว่า "เจดีย์ไจ๊ปุ่น" แปลว่า "เจดีย์พระสี่ทิศ" นั่นเอง ก็ตรงตามที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานที่เจดีย์แห่งนี้ โดยประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ทั้ง 4 ทิศ โดยแต่ละองค์จะหันพระพักตร์ไปทุกทิศ และแต่ละทิศคือพระพุทธเจ้าชาติต่าง ๆ ได้แก่ ทิศเหนือ คือ พระสมณโคดม ทิศใต้ คือ พระโกนาคม ทิศตะวันออก คือ พระกกุสันโธ และทิศตะวันตก คือ พระมหากัสสป

    มีตำนานเล่าว่า พระราชธิดาทั้ง 4 พระองค์ของกษัตริย์มอญ ที่อุทิศตนให้กับพุทธศาสนา ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของตน ได้ร่วมสาบานกันว่าจะไม่อภิเษกกับใครเลย แต่หลังจากนั้นน้องสาวคนสุดท้องได้ผิดคำสาบานไปอภิเษกสมรส จึงทำให้เกิดอาเพศฟ้าผ่าลงที่พระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนของน้องคนสุดท้อง ต่อมาจึงได้บูรณะพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นภายหลัง และมีลักษณะที่แตกต่างจากองค์อื่น ๆ คือ พระพักตร์ที่เศร้า ดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

53A148BA5BA44A069AF3DDD0C58E4319.jpg

พระพุทธรูปที่ได้รับความเสียหาย

    ไม่ว่าศาสนสถานต่าง ๆ จะถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด แต่จุดมุ่งหมายเดียวกันของผู้ที่เลื่อมใสคือการได้ไปกราบไว้สักการะ เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้หลงทางนั่นเองค่ะ


วันเปิดทำการ

- เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 05.00 น. - 21.00 น.

อัตราค่าเข้าชม

- สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองพะโค มีการจำหน่ายบัตรเข้าชมรวมทุกแห่ง ชื่อว่า “The Bago archeological zone” ราคาคนละ 10 USD

การเดินทาง

- รถแท็กซี่ หรือ รถบัส โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1.30 ชม.


อ้างอิง

https://www.exoticontour.com/ExoticTour/home/traveldetailmyanmar8.php สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563

https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=129 สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563

http://burma-travel.blogspot.com/2014/01/KyaikpunPagoda.html สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

ชื่อสถานที่จากแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ 4 สาย พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล (พระราชวังหวงแห่งกรุงพนมเปญ)

    พระราชวังหลวงแห่งกัมพูชา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล เป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่ประทับของราชวงศ์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ชื่อเต็มในภาษากัมพูชา คือ "เปรี๊ยะบรมเรียเชียแวงจักตุมุก" (พระบรมราชวังจตุมุข)



    ตั้งอยู่ในทำเลฝั่งตะวันตก ติดริมแม่น้ำ สร้างขึ้นในสมัยของสมเด็จนโรดม พรหมบริรักษ์ แล้วเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1866 หลังย้ายเมืองหลวงจากเมืองอุดงมีชัยมาเป็นกรุงพนมเปญ สร้างขึ้นตามรูปแบบศิลปะเขมรที่มีอิทธิพลของฝรั่งเศสเล็กน้อย 
    โดยชื่อของพระราชวังหลวงนี้มีที่มาจากสถานที่ตั้งที่อยู่ใกล้กับลำน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 4 สาย ที่ไหลมาบรรจบกัน อันได้แก่ แม่น้ำที่ไหลจากโตนเลสาบและโตนเลบาสัก ไหลรวมกับแม่น้ำโขงที่แบ่งเป็น แม่น้ำโขงเหนือและแม่น้ำโขงใต้ จึงเรียกว่า “จตุมุข”

    ในช่วงแรกของการสร้าง พระที่นั่งหลายแห่ง เช่น พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย หรือพระที่นั่งจันทรฉายา ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ ก่อนจะถูกรื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนดังที่ปรากฎในปัจจุบัน


200px-154915483307_(2).jpg 
พระที่นั่งเทวาวินิจฉัยในช่วงเริ่มก่อสร้างพระบรมราชวัง


1024px-Royal_Palace,_Phnom_Penh,_1885.jpg
พระที่นั่งจันทฉายา ในปี ค.ศ.1885 ต่อมาภายหลังถูกรื้อป้อมหอคอยออก


    เนื่องจากพื้นที่พระราชวังหลวงมีความกว้างใหญ่ และประกอบไปด้วยหลายสถานที่ ในครั้งนี้เราจึงจะขอนำเสนอพื้นที่ที่เป็นกลุ่มอาคารพระราชมณเฑียรของพระมหากษัตริย์กัมพูชา 
  • พระที่นั่งจันทรฉายา มีลักษณะเป็นศาลาโถง ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังหลวง ในอดีตใช้เป็นสถานที่แสดงนาฏศิลป์เขมรโบราณ ในพระราชพิธีขึ้นครองราชย์ หรือพิธีเฉลิมฉลองต่างๆ และเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของพระราชวังหลวงแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกด้วยไม้ ในปี ค.ศ. 1869 ต่อมามีการรื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1917 ที่ปรากฏในปัจจุบัน

    พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล-พนมเปญ-1.jpg
  • พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย (ท้องพระโรง) ตั้งอยู่ตรงกลาง ในปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้ ใช้สำหรับงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีขึ้นครองราชย์ หรือพระราชพิธีอภิเษกสมรส และเป็นที่ต้อนรับเอกอัครราชฑูตจากนานาชาติ 


  • พระที่นั่งนโปเลียนที่ 3 หนึ่งในอาคารที่เป็นเอกลักษณ์และยังคงอยู่มาถึงจนปัจจุบัน เป็นตำหนักที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สร้างประทานแด่จักรพรรดินีเออเชนี ต่อมาองค์จักรพรรดิดินีมีรับสั่ง ให้รื้อถอดออกเป็นชิ้น ๆ ส่งลงเรือมาประกอบขึ้นใหม่เป็นของขวัญถวายแด่สมเด็จพระนโรดมที่กรุงพนมเปญในปี พ.ศ. 2419 


  • พระราชวังเขมรินทร์ สร้างขึ้นราวปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ตามรูปแบบศิลปะเขมร มีความคล้ายคลึงกับพระบรมมหาราชวังของไทย ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นในไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชม

การเดินทาง
  • รถบัสจากสนามบิน
  • รถไฟจากสนามบิน
  • รถแท็กซี่
เวลาเปิด-ปิด
  • 08.00 - 17.00 น.
อัตราเข้าชม
  • 6.5 ดอลล่าห์สหรัฐ หรือประมาณ 202.47 บาท (อ้างอิงข้อมูลจากวันที่ 18 กันยายน 2563)
ที่ตั้ง
  • เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

อ้างอิง
https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=255 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563
https://blog.bangkokair.com/ที่เที่ยวพนมเปญ/ สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563
https://www.govivigo.com/ideas/26-cambodia-พระราชวังหลวงกรุงพนมเปญ สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เป็นมัคคุเทศก์ต้องเตรียมตัวอย่างไร (การเตรียมตัวของมัคคุเทศก์ก่อนออกปฏิบัติงาน)

     การนำทัวร์ มัคคุเทศก์ควรเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติงานจริง โดยขั้นตอนของการปฏิบัติงานนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้

ไกด์อาสาสมัครโตเกียว/คู่มือท่องเที่ยวโตเกียวอย่างเป็นทางการ GO TOKYO
ภาพจาก pyt_76.jpg


1. เตรียมเอกสาร
การตรวจสอบเอกสาร จะประกอบด้วย 
  • ใบงาน
  • รายการนำเที่ยวสำหรับผู้นำเที่ยว
  • ใบ Voucher หรือสัญญาการซื้อบริการนำเที่ยว
  • สำเนาจดหมายติดต่อธุรกิจระหว่างบริษัทนำเที่ยวกับสถานประกอบการต่าง 
  • รายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับการจัดที่นั่งทั้งบนรถและบนเครื่องบิน
  • รายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับจัดห้องพัก ที่เรียกว่า (Hotel) Rooming List
สำหรับการนำเที่ยวออกนอกประเทศ (Outbound tour) จำเป็นต้องตรวจสอบเอกสารสำหรับใช้ในการเดินทางเพิ่มเติม ดังนี้
  • บัตรโดยสารเครื่องบินของนักท่องเที่ยว
  • แบบฟอร์มการเข้า-ออกประเทศ (Immigration Form) และแบบฟอร์มการแจ้งรายการสิ่งของต่อศุลกากร (Custom Declaration Form) ของประเทศปลายทาง
  • หนังสือเดินทาง (Passport) ของนักท่องเที่ยว
2. เตรียมอุปกรณ์
 จัดเตรียมอุปกรณ์ในการนำเที่ยว อุปกรณ์สำหรับการนำเที่ยว ประกอบด้วย ดังนี้
  • ป้ายชื่อหรือสติ๊กเกอร์ (Tag) สำหรับติดกระเป๋าผู้เดินทาง
  • ริบบิ้นสีสดใสสำหรับผูกติดกระเป๋านักท่องเที่ยว (เพื่อสามารถสังเกตได้ง่าย)
  • ป้ายชื่อสำหรับนักท่องเที่ยวพกติดกับตัว
  • สิ่งของทั่วไปสำหรับอำนวยสะดวกนักท่องเที่ยว เช่น ร่มแบบพกพา ยาหม่อง ยาดม เป็นต้น
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม
  • อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับให้ความสนุกแก่นักท่องเที่ยวระหว่างเดินทาง
  • เครื่องปฐมพยาบาล (First Aid Kids)
  • เครื่องขยายเสียงแบบพกพา (สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยู่ห่างไกลจากผู้นำทัวร์)
3. เตรียมข้อมูล
    สิ่งที่จะพูด ประกอบไปด้วย 
  • ข้อมูลของสถานที่นั้น ๆ เช่น ประวัติความเป็นมาของสถานที่
  • ข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ควรทำและไม่ควรทำ และสิ่งอำนวยความสะดวกในแต่ละสถานที่ เป็นต้น
4. เตรียมความพร้อมของตัวเอง
  • ด้านสุขภาพร่างกาย
  • ด้านจิตใจ
  • เอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็น

    จะเห็นได้ว่าการเตรียมตัวของมัคคุเทศก์ไม่เพียงแต่ต้องเตรียมข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการจัดเตรียมเอกสาร อุปกรณ์ต่าง ๆ และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการนำเที่ยวด้วย เพื่อที่จะนำเที่ยวได้อย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ตามรอยโบราณกาล สุสานจักรพรรดิมินห์มาง เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม (Tomb of Minh Mang)

     สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในเวียดนามมีหลากหลายที่ สำหรับเป็นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งสุสานทั้ง 3  แห่ง ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของเวียดนามที่ไม่ควรพลาด และควรมาเยี่ยมเยียนสักครั้งในชีวิต และในวันนี้ เราจะขอเล่าถึงประวัติของสุสานมินห์มาง หนึ่งในสุสานที่สวยงามและมีสถาปัตยกรรมที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติให้ทุกท่านได้ทราบ

ภาพจากminh-mang-tomb-hue-travel-guide.jpg

    สุสานจักรพรรดิมินห์มางตั้งอยู่ในหมู่บ้าน An Bang จังหวัดเถื่อเทียน บริเวณริมแม่น้ำหอม ห่างจากเมืองเว้ ประมาณ 12 กิโลเมตร

ประวัติ

    สุสานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้น ในปี ค.ศ. 1840 โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันออกแบบจีน ในรัชสมัยของพระเจ้ามินห์มาง ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์เพียง 1 ปี และสร้างเสร็จในสมัยของพระเจ้าเถี่ยวตรี รัชทายาทของพระองค์ ในปี ค.ศ. 1843 พระเจ้ามินห์มางเป็นพระโอรสองค์ที่ 4 ของพระเจ้ายาลอง และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์เหงียน

    พระเจ้ามินห์มางทรงสร้างนครจักรพรรดิ และได้รับการยกย่องอย่างสูงจากการที่ทรงปฎิรูปขนบธรรมเนียมประเพณีและเกษตรกรรม พระองค์ทรงยึดมั่นในแบบแผนการบริหารตามแบบของจีน โดยให้หัวเมืองต่าง ๆ มาขึ้นตรงต่อราชสำนัก รวมทั้งนโยบายต่อต้านฝรั่งเศสและปราบปรามพวกนอกศาสนาหัวรุนแรง ซึ่งนโยบายนี้เองทำให้เวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

การเยี่ยมชม

ภาพจากhttps://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=295
   

  จุดแรก คือ บริเวณทางเข้าไปยังสุสาน

Minh Mang Royal Tomb in Hue, Vietnam
ภาพจาก minh_mang_01-56bbf17f3df78c0b137390f0.jpg

    บริเวณลานกว้าง ที่มีรูปสลักหินของบรรดาช้าง ม้า ทหาร และขุนนาง 

Minh Mang Tomb: Best Tomb in Hue for Natural Lover| Bee Bee Travel
ภาพจาก dai-hong-mon-gate.jpg

    ประตูได่ห่องมน (Đại Hồng Môn) มีประตูทั้งหมด 3 บาน ซึ่งบานตรงกลาง เป็นทางเข้าสำหรับองค์จักรพรรดิเท่านั้น ส่วนทางซ้ายและขวา ไว้สำหรับสมาชิกราชวงศ์และประชาชน

7 Must-Visit Royal Tombs in Hue, Vietnam
ภาพจาก minh_mang_1-56a40a755f9b58b7d0d515e9.jpg

    ถัดเข้ามามีแท่นศิลาจารึกที่ตั้งบูชาดวงพระวิญญาณของพระเจ้ามินห์มาง


       ชั้นต่อมา เป็นพระตำหนักด้านใน ที่แวดล้อมไปด้วยบึงน้ำและสวนอันร่มรื่น โดยพระตำหนักนี้เองเป็นจุดที่เราสามารถมองเห็นหลุมฝังพระศพ ซึ่งเป็นเนินดินวงกลมขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยรั้วสูง แต่ไม่มีใครรู้ว่าตำแหน่งฝังพระศพคือจุดใด เพราะไม่มีใครได้รับอนุญาตให้เข้าไปนอกจากผู้ที่ทำการฝังพระศพ ซึ่งผู้ที่ทำการฝั่งพระศพก็ต้องฆ่าตัวตายตามพระองค์เพื่อเป็นข้าราชบริพารติดตามรับใช้พระองค์ในภพหน้า

Minh Mang Tomb - Minh Mang imperial Complex in Hue, Vietnam
ภาพจาก minh-mang-tomb-3.jpg

   

    สุสานมินห์มางแห่งนี้นับเป็นสถานที่ที่น่ามาเยือนสักครั้งในชีวิต ซึ่งนอกจากจะได้ซึมซับสถาปัตยกรรมแบบโบราณแล้ว ยังได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอีกเช่นกัน


สำหรับนักท่องเที่ยว

- เวลาทำการเปิดให้เข้าชม 7.00-17.30 น.

- อัตราการเข้าชม 100,000 VND หรือ ประมาณ 135.77 บาท (อ้างอิงข้อมูลจากวันที่ 25 สิงหาคม 2563)

- สามารถเข้าชมได้ตลอดทั้งปี

การเดินทาง

การเดินทางจากท่าอากศยานดานังไปยังสุสานมินห์มาง มีระยะทางประมาณ 95.3 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 2 ชั่วโมง 


อ้างอิง

https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=295 สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563

https://www.asiatravelroutes.com/th/vietnam/attractions/hue/tomb-minh-mang.html สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563

https://www.tripsavvy.com/minh-mang-royal-tomb-in-hue-3859661 สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563

    

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผู้นำ.....ชม (เทคนิคการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์)

    การท่องเที่ยว คือ การพักผ่อนอย่างหนึ่งที่ทุกคนล้วนต้องการที่จะผ่อนคลายจากการทำงานหรือว่างเว้นจากเรื่องราวต่าง ๆ แต่เหนือสิ่งอื่นใด นอกเหนือจากการท่องเที่ยวด้วยตนเองแล้ว ยังมีการท่องเที่ยวแบบนำทัวร์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การนำเที่ยวแบบมัคคุเทศก์นั่นเอง


IMG_2327.heic

    ซึ่งนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว การเป็นมัคคุเทศก์ที่ดีควรมีทักษะประกอบกันหลายอย่างที่ไม่ใช่แค่การพากย์ทัวร์เพียงอย่างเดียว แต่ควรมีปฏิสัมพันธ์กับลูกทัวร์ด้วย และควรใช้ภาษากายในการประกอบการพากย์ทัวร์ นอกจากนี้บุคลิกภาพที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญของการพากย์ทัวร์ด้วยเช่นกัน

    โดยในวันนี้ เราจะขอพูดถึงการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ว่ามีอะไรบ้าง และสำคัญอย่างไร

1.กระบวนการทำงาน

    1.1 ศึกษาข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ

    1.2 วางแผนกำหนดเส้นทาง ติดต่อสถานที่ที่จะนำเที่ยว และสถานที่พักแรม

    1.3 นำลูกทัวร์เดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว และบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ให้แก่ลูกทัวร์ทราบ เช่น ภาพรวมของสถานที่ ประวัติความเป็นมา โปรแกรมที่จะทำ จุดนัดพบ และกฎเกณฑ์ข้อมห้ามต่าง ๆ 

    โดยในการนำทัวร์ในแต่ละครั้ง ผู้นำทัวร์ต้องรับมือกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นมัคคุเทศก์ควรศึกษา สังเกตลูกทัวร์ของตนเอง และรู้จักความต้องการของลูกทัวร์แต่ละคนอย่างได้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกทัวร์ได้อย่างตรงจุด

2.เนื้อหาที่มัคคุเทศก์ควรนำเสนอ

    เนื้อหาที่ผู้นำทัวร์จะนำมาพูดนั้น นอกจากจะเป็นเนื้อหาสาระของสถานที่นำเที่ยวแล้ว ข้อมูลที่จะนำมาบรรยายต้องมีความถูกต้องด้วย และข้อปฏิบัติของสถานที่นั้น ๆ ที่ควรทำและไม่ควรทำ และอาจจะเสริมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน

ในส่วนของเนื้อหาที่ควรพูด มี 3 ส่วน คือ

1. Must talk ประกอบไปด้วย

    1.1 Who

    1.2 What 

    1.3 Where 

    1.4 When

    1.5 Why

2. Should talk สิ่งที่ควรพูด

3. Could talk สิ่งที่จะบอกเพิ่มเติม

3.เทคนิคการนำชมและการพูดของมัคคุเทศก์

-ก่อนการเริ่มพากย์ทัวร์มัคคุเทศก์ควรหาจุดที่ร่มหรือจุดยืนที่เหมาะสมสำหรับการบรรยาย 

-มีความมั่นใจ ยิ้มทุกครั้งในขณะที่พูด

-ใช้ภาษากายในการสนับสนุนการพูด

-ยืนหันหลังให้แก่สิ่งที่กำลังพูดถึง และหันหน้าให้กับผู้ฟัง ใช้คำบอกลักษณะให้แก่ผู้ฟังได้ทราบแทนการหันหน้าไปมา เช่น บอกสี ขนาด หรือรูปทรง

-Safety warning เตือนเรื่องความปลอดภัย เช่น มีทางลาด

-น้ำเสียงหนักหรือเบา/จังหวะในการพูด

-อธิบายคำศัพท์เฉพาะให้ทราบ

-การตอบคำถาม ไม่ควรตอบคำถามแบบยาวเพื่อเพิ่มคำถามให้แก่ผู้ฟัง ควรตอบแบบสั้นกระชับ และได้ใจความ

-มีการสื่อสารกับผู้ฟังแบบ two way community มีการตั้งคำถามแก่ผู้ฟังเพื่อให้บทสนทนาไม่น่าเบื่อ


    เทคนิคการพากย์ทัวร์ของมัคคุเทศก์ต้องอาศัยประสบการณ์และมีความรู้ที่พร้อมจะให้เนื้อหาสาระแก่ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการนำชมที่แตกต่างกัน แต่เทคนิคข้างต้นที่กล่าวมา ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญที่มัคคุเทศก์ทุกคนควรจะนำมาปฏิบัติ พร้อมที่จะรับมือกับปัญหาและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน


อ้างอิง

https://www.youtube.com/watch?time_continue=2445&v=NIF574cG9IU&feature=emb_title สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563

http://www.elfhs.ssru.ac.th/chantouch_wa/pluginfile.php/438/block_html/content/บทที่%205%20เทคนิคการนำชม%20และศิลปะการพูดเพื่อการนำเที่ยว.pdf สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563





วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากยุคหินเก่าไปสู่ความเป็นอายธรรม Change in Civilization

     ก่อนโลกจะก้าวเข้าสู่ยุคปัจจุบันอย่างทุกวันนี้ เราได้ผ่านช่วงเวลาของการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และหนึ่งในนั้น คือ มนุษย์ ที่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษหรือต้นกำเนิดของคนในปัจจุบัน โดยเราเรียกช่วงเวลาเหล่านั้นว่า "ยุค"

    เราได้แบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งในครั้งนี้ เราจะขอพูดถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปินแสดงภาพมนุษย์ยุคหินไม่ถูกต้อง: พบหลักฐานของท่าทางตรงของพวกเขา
ca9efc8aeaf551b448c7f34815c135bc.jpg


สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ยุคหินเก่า

    เป็นมนุษย์นีแอนเดอธัล เริ่มเมื่อประมาณ 2.5 - 10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์มีวิถีชีวิตแบบอยู่กันเป็นครอบครัวเร่ร่อนไปมา ไม่มีสังคม ย้ายที่อยู่อาศัยตามฝูงสัตว์ กล่าวคือ เมื่อสัตว์ที่เป็นอาหารในการดำรงชีวิตหมด ก็จะย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ มักอาศัยอยู่ใต้โขดหินหรือในถ้ำ เริ่มแรกมีการใช้เครื่องมือหินบิ่น ต่อมาเริ่มมีการใช้เครื่องมือแบบไม้และกระดูก ใช้หอกในการล่าสัตว์ ทำกับดักและแหในการจับนกและปลา สร้างเรือแคนูจากท่อนไม้ ใช้ขนหรือหนังสัตว์ในการทำเครื่องแต่งกาย เริ่มรู้จักใช้ไฟ มีพัฒนาการทางด้านภาษา และเริ่มรู้จักการวาดภาพบนผนังถ้ำ และเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่มีการฝังศพ

ยุคหินใหม่

        เริ่มเมื่อประมาณ 10,200 - 4,500 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์มาทำเกษตรกรรม เรียนรู้การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อเก็บไว้กินเป็นอาหาร กล่าวคือ การพัฒนาด้านเกษตรกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคหินใหม่ เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีการตั้งแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งโดยการหาที่อยู่อาศัยใกล้กับแหล่งน้ำ เริ่มขัดหินและเครื่องมือต่าง ๆ รู้จักการทอผ้าและเครื่องปั้นดินเผา และเริ่มรู้จักการค้าขาย เรียนรู้แลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมอื่น ๆ

การเข้าสู่ความเป็นอารยธรรม

    ความคิดหลัก คือ จากหมู่บ้านเกษตรกรรม ทำให้เกิดเป็นเมือง (มหานคร) พร้อมกับการเกิดขึ้นของอารยธรรม และเริ่มมีประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร

    สังคมในยุคนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากมีการจัดระเบียบของสังคม ถึงแม้ว่าแรกเริ่มจะมีจะมีความหลากหลาย แต่ก็มีลักษณะเฉพาะร่วมกัน และผลจากการขยายตัวของผู้คนที่เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นสังคมขนาดใหญ่ ทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้ปกครองเพื่อดูแลความประพฤติของคนในสังคม ให้อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์เดียวกัน 

    มีความก้าวหน้าของเกษตรกรรม เริ่มทำเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งมากขึ้น เกิดระบบชลประทาน มีการขุดคลองหรือคูน้ำในการเชื่อมแหล่งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น และลดจำนวนคนทำเกษตร หันมามาทำการค้าและอาชีพอื่น ๆ เพื่อการดำรงชีพ มีการผลิตส่วนเกินเพื่อมอบให้แก่ผู้ปกครอง และที่เหลือจึงนำไปค้าขายและบริโภค

    กล่าวคือ ยุคหินใหม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เริ่มปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ขยายพื้นที่อยู่อาศัย  มีการค้นพบเหล็กและมีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต จนพัฒนามาเป็นยุคโลหะ เริ่มมีการติดต่อค้าขาย เรียนรู้จากสังคมอื่น จึงเกิดความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นอารยธรรม

    จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากยุคหินมาสู่ความเป็นอารยธรรม ทำให้คนในแต่ละยุคต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและบริบทความเปลี่ยนแปลงของสังคม มนุษย์ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันและพัฒนาความรู้ เพื่อการเอาตัวรอดในแต่ละวัน



อ้างอิง

https://sites.google.com/site/pakkapolsirmong/home/yukh-hin สืบค้นเมื่อ 14  สิงหาคม 2563

https://sites.google.com/site/kikchalita/hnwy-thi1kar-baeng-yukh-thang-prawatisastr/1-1kar-baeng-yukh-prawatisastr-sakl-laea-thiy     สืบค้นเมื่อ 14  สิงหาคม 2563

ประตูชัย สัญลักษณ์ของอิสรภาพ

      การประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมฝรั่งเศสของลาว เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึงการไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศสอีกต่อไปแล้ว ชาวลาวจึงได้สร้...