วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

Fort Santiago in Manila ปูชนียสถานแห่งเสรีภาพ


ถ้าจะพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลาย ๆ คนคงนึกถึงปราสาทนครวัดที่ประเทศกัมพูชา วัดบุโรพุทโธที่ประเทศอินโดนีเซีย หรือเมืองประวัติศาสตร์อย่างพระนครศรีอยุธยาที่ประเทศไทยของเรานั่นเอง แต่นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกมากมาย ที่ไม่ว่าใครก็ตามสามารถไปแวะเวียนเที่ยวชมได้ และป้อมซานติเอโกในประเทศฟิลิปปินส์ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แล้ว ในเรื่องของสถาปัตยกรรมก็ยังมีความสวยงามอยู่ไม่น้อย ในครั้งนี้เจ้าของบล็อกจะพาให้ทุกคนได้รู้จักกับสถานที่แห่งนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ถ้าอยากรู้เรามาตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

http://www.thaigoodview.com/files/u90552/191011_553000003079301.JPEG

ป้อมซานติเอโก (Fort Santiago) เป็นป้อมปราการที่เก่าแก่ที่สุดของสเปนในฟิลิปปินส์ ซึ่งนับเป็นด่านแรกที่ป้องกันการโจมตีจากข้าศึกที่เข้ามาทางปากอ่าวมะนิลา ป้อมแห่งนี้ถูกทำลายจากการโจมตีของกองทัพสหรัฐ ต่อมาได้บูรณะซ่อมแซมเพื่อให้เป็น ปูชนียสถานแห่งเสรีภาพ ” (Shrine of Freedom)
ป้อมแห่งนี้ เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่สวยงามดึงดูดสายตาผู้คนมากที่สุดจากยุคอาณานิคมของสเปนเป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1571 ป้อมแห่งนี้ถูกใช้เป็นที่คุมขังนักโทษมานานนับปีและยังเป็นที่กักขังวีรบุรุษแห่งชาติอย่าง ฟิริปปินส์ โฮเซ่ ไรซาล และยังเป็นที่กักขังเหล่านักรบเสรีภาพ ในช่วงเวลาการทำสงคราม ระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่นอีกด้วย

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/28/Fort_Santiago_Intramuros_Manila.jpg/338px-Fort_Santiago_Intramuros_Manila.jpg

เมื่อสมัยที่โปรตุเกสยังยึดครองเมืองมะละกา ป้อมปราการแห่งนี้ถูกใช้งานเป็นเสมือนด่านป้องกันเมืองมะละกา จากการบุกรุกของศัตรู โดยปกติป้อมนี้จะมีกำแพงยาวล้อมรอบเนินเขาเล็ก ๆ ชื่อว่าเนินเขามะละกา ซึ่งป้อมปราการแห่งนี้ได้ถูกใช้ทำหน้าที่เป็นอย่างดีมาเป็นเวลานานกว่า 150 ปี จนกระทั่ง ฮอลันดา ได้ยกทัพมาบุกรุกและสามารถยึดครองเมืองมะละกา ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2184

http://static.asiawebdirect.com/m/phuket/portals/philippines-hotels-ws/homepage/manila/fort-santiago/pagePropertiesImage/fort-santiago-manila.jpg.jpg


หลังจากที่ได้ทำการล้อมเมืองนี้อยู่นานถึง 5 เดือน และได้ทำการยึดเมืองมะละกามาจากชาวโปรตุเกสได้เรียบร้อยแล้ว ฮอลันดาก็ได้ทำการซ่อมแซมกำแพง และป้อมปราการแห่งนี้ให้กลับอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จนกระทั่งในภายหลังเมืองมะละกาได้ถูกครอบครองโดยอังกฤษ ผู้ปกครองเกาะปีนังได้ส่งกัปตันวิลเลียม ฟาร์คูฮาร์ มาทำลายป้อมปราการแห่งนี้ เพื่อป้องกันการอ้างสิทธิครอบครองดินแดนของฮอลันดา แต่ป้อมปราการแห่งนี้ไม่ได้ถูกทำลายไปทั้งหมด ทำให้ซากแห่งประวัติศาสตร์ของเมืองมะละกายังคงอยู่ และในปัจจุบันตัวโครงสร้างของป้อมปราการได้ถูกบูรณะซ่อมแซม เพิ่มเติมสวนหย่อมเขียวชอุ่มและมีโรงละครของป้อมซานติเอโก บริเวณป้อมซานติเอโกถือเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของอินทรามูรอส ตั้งอยู่บนถนนเจเนอรัลลูน่า เมืองหลวงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์นั่นเอง

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhoz6b8s_p649eqYF-Py45Bm4vMomttHnahNnllhL3WTIXDGakhorbjHXw07wnvz6F-khq9XkbmbgZ0UeZLI8Yo3TTOTMbgjBaXVC1DV5i3u2QywdYcoIuqsr3r3YsZB_05Aj24IAFcJ-C7/s1600/fort-santiago.JPG

เป็นยังไงกันบ้างคะกับประวัติที่น่าสนใจของป้อมแห่งนี้ เป็นสถานที่ที่มีความน่าสนใจไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว และยังเป็นสถานที่ที่สามารถเดินทางไปได้ง่าย แถมยังมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้เดินทางไปสัมผัสกับบรรยากาศแห่งนี้ และหากใครมีโอกาสก็ไม่ควรพลาดที่จะไปเยือนสักครั้งในชีวิต


เพราะชีวิตมีครั้งเดียว ดังนั้นการเดินทางเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้ประสบการณ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เก็บกระเป๋าและเริ่มออกเดินทางกันเลยค่ะ Let's go!!!



อ้างอิง
ป้อมซานติเอโก ซากความงามของฟิลิปปินส์ (2014). ค้นหาเมื่อ 23/09/2018, จากhttps://www.dailynews.co.th/article/234313
ป้อมซานติเอโก (Fort Santiago) ประเทศฟิลิปปินส์ (2013). ค้นหาเมื่อ 23/09/2018, จากhttp://www.thaigoodview.com/node/160343?page=0,5
ข้อมูลเที่ยวฟิลิปปินส์ : ป้อมซานติเอโก (Fort Santiago) (2014). ค้นหาเมื่อ 23/09/2018, จากhttps://www.thaifly.com/index.php?route=news/news&news_id=828

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

เมืองน้ำคาน พระราชวังหลวงพระบาง

        หากจะพูดถึงประเทศลาว คงไม่พ้นเมืองหลวงพระบาง เมืองที่ซึ่งเต็มไปด้วยวิถีชิวิตอันเรียบง่ายบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น และผู้คนที่อาศัยอยู่เมืองหลวงพระบางแห่งนี้ ต่างก็เป็นมิตรและเป็นกันเองสุดๆกับนักท่องเที่ยว เมืองหลวงพระบางมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายให้ได้ไปเที่ยวชม ในครั้งนี้เจ้าของบล็อกจะแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองหลวงพระบางที่ควรไปสักครั้งในชีวิต จะเป็นสถานที่ใด เรามาดูกันเลยค่ะ

แต่ก่อนอื่นขอเล่าประวัติความเป็นมาของเมืองหลวงพระบางคร่าวๆให้ได้รู้จักกันก่อนนะคะ

https://th.readme.me/p/17531

        เมืองหลวงพระบาง หลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่เป็นราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรล้านช้าง สมัยแรกเริ่มสถาปนาอาณาจักรล้านช้าง แต่เดิมมีชื่อว่า "เมืองซวา" (ออกเสียงว่า ซัว) และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอซึ่งถือเป็นปฐมกษัตริย์ลาวได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น "เชียงทอง"
        เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1916) เสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระบิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมกำลังขณะอยู่ในเมืองพระนคร หรือเมืองเสียมราฐ และนำกองทัพนับพันกำลังเพื่อกู้ราชบัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นมาใหม่ และสถาปนาเมืองเชียงทองขึ้นเป็นราชธานีว่า กรุงศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี ต่อมาในรัชสมัยพระโพธิสารราชเจ้า พระองค์ได้ทรงอาราธนาพระบางซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงมีชื่อเรียกว่า "หลวงพระบาง" นับแต่นั้นมา

นอกจากนี้เมืองหลวงพระบางยังได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมอีกด้วย!!!


  • สถานที่แห่งนี้คือ พระราชวังหลวงพระบาง (พิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง)
    http://travel.trueid.net/detail/4wb7bpqnp9W
               พระราชวังหลวงพระบาง ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2447 สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ สืบทอดต่อมาถึงสมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว ภายหลังจากกาเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือที่ชาวลาวเรียกว่า “การปลดปล่อย” รัฐบาลลาวได้เปลี่ยนพระราชวังหลวงมาเป็น  “หอพิพิธภัณฑ์”  ในปี พ.ศ. 2519 หลังจากที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ที่นี่อีกต่อไป
http://laos-travel.blogspot.com/2013/09/blog-post.html

               ลักษณะแผนผังของตัวพระราชวังประกอบด้วยอาคารขวางด้านหน้า หลังคามุงกระเบื้องตรงกลางมีมุขยื่นออกมา มีหน้าบันเป็นรูปช้าง 3 เศียร มีฉัตรกางอยู่ตรงกลางข้างบนอันเป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรลาวล้านช้างในระบอบเดิมตรงเข้าไปเป็นห้องฟังธรรมของเจ้ามหาชีวิตและท้องพระโรง เบื้องหลังท้องพระโรงเป็นอาคารที่มีหลังคาเป็นยอดปราสาทหลังเดียวมองเห็นเป็นสง่าเด่นชัดจากภายนอกตัวอาคาร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ปีกทางด้านซ้ายมือเป็นห้องรับแขกของพระมเหสี
               ปัจจุบันมีของขวัญจากประเทศต่างๆจัดแสดงให้ชมอยู่ ทั้งจากประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์, ประเทศทางตะวันตก, เอเชีย รวมทั้งของประเทศไทยส่วนปีกทางด้านขวามือเป็นห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต มีความสวยงามบรรยากาศเป็นแบบฝรั่งเศสปนลาว มีภาพเขียนบนผ้าใบผืนใหญ่กรุเต็มผนังขึ้นไปจรดเพดาน เขียนขึ้นในปีพ.ศ. 2473 แสดงถึง ฮีตครอง(จารีตประเพณี) ของคนลาว ในช่วงเวลาต่างๆของแต่ละวันรูปขบวนเจ้ามหาชีวิตเสด็จไปสรงน้ำพระที่วัดเชียงทองและวัดใหม่ รูปประเพณีบุญปีใหม่ลาว รูปตลาดตอนแลง (ตลาดเย็น) ซึ่งภาพเหล่านี้ถ่ายด้วยด้วยเทคนิคแบบ Impressionism ทั้งยังมีรูปหล่อครึ่งตัวอีก 4 องค์คือ เจ้ามหาชีวิตอุ่นคำ เจ้ามหาชีวิตสักรินทร์  เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งหล่อมาจากประเทศฝรั่งเศสทั้งหมด
https://th.readme.me/p/17531

               พระราชวังหลวงพระบางเป็นอาคารแบบฝรั่งแต่หลังคาเป็นแบบทรงลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง หันหน้าเข้าสู่พระธาตุพูสี ตัวพระราชวังเป็นหมู่อาคารเตี้ยๆชั้นเดียว ตั้งอยู่บนพื้นยกสูง มีความงดงามลงตัวของศิลปะยุคอาณานิคมผสมกับศิลปะแบบล้านช้าง สภาพโดยรอบมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ที่ไม่หนาจนเกินไป
https://th.readme.me/p/17531

               ส่วนของห้องสุดท้ายของปีกด้านนี้ได้ถูกจัดให้เป็นห้องพระโดยเฉพาะภายในเป็นที่ประดิษฐานของ “พระบาง” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบางอันศักดิ์สิทธิ์  มีลักษณะประทับยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกทั้งสองข้าง ซึ่งชาวลาวเรียกกันว่า “ปางประทานอภัย” หรือที่คนไทยเรียกว่า “ปางห้ามสมุทร” เป็นศิลปะเขมรสมัยหลังบายนอายุราว 300 ปี มาแล้ว หล่อด้วยทองคำบริสุทธิ์ 90% หนัก 54 กิโลกรัม สูงราว 40 – 50 ซม. ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เมืองหลวงพระบาง” อันหมายถึงเมืองที่มี “พระบาง” ประดิษฐานอยู่นั่นเอง
               ทุกวันขึ้นปีใหม่ลาว (ราวเดือนเมษายน) จะมีการอัญเชิญ “พระบาง” ลงมาประดิษฐานที่ “วัดใหม่” เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวหลวงพระบางและชาวลาวทั้งประเทศ ภายในห้องพระนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก สลักด้วยหินในรูปแบบศิลปะเขมรอีก 4 องค์ และมีกลองมโหระทึกอีกหลายใบซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่ามาจากที่ใดนอกจากนั้นยังมีพวงมาลา
ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งถวายเป็นพุทธบูชาไว้เมื่อครั้งเสด็จมายังประเทศลาวและเมืองหลวงพระบาง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533

http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/518-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87.html

ประวัติการสร้าง
     พระพุทธรูปองค์นี้มีตำนานว่ากษัตริย์ขอมได้พระราชทานให้กับพระเจ้าฟ้างุ้ม  แต่ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์เวียงคำอยู่ระยะหนึ่งจนกระทั่งได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เมืองเชียงทองได้ในรัชกาลต่อๆมา  ท้ายสุด เมืองเชียงทองเองก็ได้เปลี่ยนชื่อไปเป็นเมืองหลวงพระบางตามนามของพระพุทธรูป ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ได้กลายเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองประจำเมืองหลวงพระบาง
ลักษณะทางศิลปกรรม
     พระบางมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยหลังบายน คือมีเม็ดพระศกเล็กเป็นหนามขนุน  ห่มคลุม แสดงปางประทานอภัยสองพระหัตถ์ ด้านหน้าของสบงมีจีบหน้านางอันแสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องกับศิลปะเขมร

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง
     **การแต่งกายในการเข้าชม : ต้องแต่งกายสุภาพ ห้ามใส่เสื้อแขนกุด กระโปรง หรือ กางกงขาสั้นอย่างเด็ดขาด
เปิดให้เข้าชม : 08.00-11.30 น. และ 13.30-16.00 น. (ปิดวันอังคาร)
ค่าเข้าชม : 30,000 กีบ (ประมาณ 118 บาท)
     
        เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อมูลของพระราชวังหลวงพระบางที่มีประวัติอันยาวนานมาตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2447 คงน่าไปแวะเวียนเยี่ยมชมกันไม่มากก็น้อย และนอกจากพระราชวังหลวงพระบางแล้ว ยังมีสถานที่อื่น ๆ ในเมืองหลวงพระบางอีกมากมายให้ไปแวะเวียนเยื่ยมชม เช่น วัดวาอารามอันเก่าแก่ บ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์แบบโคโลเนียลสไตล์ หรือเที่ยวชมวิถีชีวิตอันแสนเรียบง่ายและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวหลวงพระบาง ที่ทุกคนจะต้องหลงใหลกับสิ่งที่ได้ไปสัมผัสอย่างแน่นอน


ยังไงก็ต้องไปให้ได้สักครั้งนะคะ!! เพราะการเดินทางคือการเรียนรู้


อ้างอิง
     พระราชวังหลวงพระบาง.(มปป).สืบค้นเมื่อ 08/09/2561, จากhttp://www.louangprabang.net/content.asp?id=88
     วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  หลวงพระบาง.(2561)สืบค้นเมื่อ 08/09/2561,  จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87
     รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี.  พระบาง.(มปป).สืบค้นเมื่อ 08/09/10, จากwww.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/ลาว/item/518-พระบาง.html
     เอิงเอย.  10 ที่เที่ยว หลวงพระบาง เมืองมรดกโลก(2561).สืบค้นเมื่อ 08/09/2561, จากhttp://travel.trueid.net/detail/4wb7bpqnp9W

ประตูชัย สัญลักษณ์ของอิสรภาพ

      การประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมฝรั่งเศสของลาว เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึงการไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศสอีกต่อไปแล้ว ชาวลาวจึงได้สร้...