วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากยุคหินเก่าไปสู่ความเป็นอายธรรม Change in Civilization

     ก่อนโลกจะก้าวเข้าสู่ยุคปัจจุบันอย่างทุกวันนี้ เราได้ผ่านช่วงเวลาของการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และหนึ่งในนั้น คือ มนุษย์ ที่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษหรือต้นกำเนิดของคนในปัจจุบัน โดยเราเรียกช่วงเวลาเหล่านั้นว่า "ยุค"

    เราได้แบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งในครั้งนี้ เราจะขอพูดถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ศิลปินแสดงภาพมนุษย์ยุคหินไม่ถูกต้อง: พบหลักฐานของท่าทางตรงของพวกเขา
ca9efc8aeaf551b448c7f34815c135bc.jpg


สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ยุคหินเก่า

    เป็นมนุษย์นีแอนเดอธัล เริ่มเมื่อประมาณ 2.5 - 10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์มีวิถีชีวิตแบบอยู่กันเป็นครอบครัวเร่ร่อนไปมา ไม่มีสังคม ย้ายที่อยู่อาศัยตามฝูงสัตว์ กล่าวคือ เมื่อสัตว์ที่เป็นอาหารในการดำรงชีวิตหมด ก็จะย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ มักอาศัยอยู่ใต้โขดหินหรือในถ้ำ เริ่มแรกมีการใช้เครื่องมือหินบิ่น ต่อมาเริ่มมีการใช้เครื่องมือแบบไม้และกระดูก ใช้หอกในการล่าสัตว์ ทำกับดักและแหในการจับนกและปลา สร้างเรือแคนูจากท่อนไม้ ใช้ขนหรือหนังสัตว์ในการทำเครื่องแต่งกาย เริ่มรู้จักใช้ไฟ มีพัฒนาการทางด้านภาษา และเริ่มรู้จักการวาดภาพบนผนังถ้ำ และเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่มีการฝังศพ

ยุคหินใหม่

        เริ่มเมื่อประมาณ 10,200 - 4,500 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์มาทำเกษตรกรรม เรียนรู้การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อเก็บไว้กินเป็นอาหาร กล่าวคือ การพัฒนาด้านเกษตรกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคหินใหม่ เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีการตั้งแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งโดยการหาที่อยู่อาศัยใกล้กับแหล่งน้ำ เริ่มขัดหินและเครื่องมือต่าง ๆ รู้จักการทอผ้าและเครื่องปั้นดินเผา และเริ่มรู้จักการค้าขาย เรียนรู้แลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมอื่น ๆ

การเข้าสู่ความเป็นอารยธรรม

    ความคิดหลัก คือ จากหมู่บ้านเกษตรกรรม ทำให้เกิดเป็นเมือง (มหานคร) พร้อมกับการเกิดขึ้นของอารยธรรม และเริ่มมีประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร

    สังคมในยุคนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากมีการจัดระเบียบของสังคม ถึงแม้ว่าแรกเริ่มจะมีจะมีความหลากหลาย แต่ก็มีลักษณะเฉพาะร่วมกัน และผลจากการขยายตัวของผู้คนที่เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นสังคมขนาดใหญ่ ทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้ปกครองเพื่อดูแลความประพฤติของคนในสังคม ให้อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์เดียวกัน 

    มีความก้าวหน้าของเกษตรกรรม เริ่มทำเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งมากขึ้น เกิดระบบชลประทาน มีการขุดคลองหรือคูน้ำในการเชื่อมแหล่งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น และลดจำนวนคนทำเกษตร หันมามาทำการค้าและอาชีพอื่น ๆ เพื่อการดำรงชีพ มีการผลิตส่วนเกินเพื่อมอบให้แก่ผู้ปกครอง และที่เหลือจึงนำไปค้าขายและบริโภค

    กล่าวคือ ยุคหินใหม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เริ่มปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ขยายพื้นที่อยู่อาศัย  มีการค้นพบเหล็กและมีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต จนพัฒนามาเป็นยุคโลหะ เริ่มมีการติดต่อค้าขาย เรียนรู้จากสังคมอื่น จึงเกิดความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นอารยธรรม

    จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากยุคหินมาสู่ความเป็นอารยธรรม ทำให้คนในแต่ละยุคต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและบริบทความเปลี่ยนแปลงของสังคม มนุษย์ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันและพัฒนาความรู้ เพื่อการเอาตัวรอดในแต่ละวัน



อ้างอิง

https://sites.google.com/site/pakkapolsirmong/home/yukh-hin สืบค้นเมื่อ 14  สิงหาคม 2563

https://sites.google.com/site/kikchalita/hnwy-thi1kar-baeng-yukh-thang-prawatisastr/1-1kar-baeng-yukh-prawatisastr-sakl-laea-thiy     สืบค้นเมื่อ 14  สิงหาคม 2563

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประตูชัย สัญลักษณ์ของอิสรภาพ

      การประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมฝรั่งเศสของลาว เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึงการไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศสอีกต่อไปแล้ว ชาวลาวจึงได้สร้...